กาแฟอินโดนีเซีย...
เมืองกาแฟที่ลือชื่อในย่านเอเซียไกล้บ้านเรา ที่มีกาแฟดีมีชื่อเสียง
และติดอันดับรองๆที่เป็นผู้ผลิตกาแฟออกจำหน่าย ในอันดับที่ 4- 5
ของโลก
โดยเฉพาะเคยตั้งใจว่าสักวันจะหาโอกาส
ไปเที่ยวเยี่ยมไร่กาแฟและเมืองนี้
จนกระทั่งวันนี้ สมาคมกาแฟพิเศษไทยเรา
ได้จัดทริปไปดูงานกาแฟอินโดนีเซีย
แต่..เราเองได้แต่อ้าปากค้าง สุขภาพไม่พร้อมร่วมเดินทาง
ได้แต่เป็นโรคตาร้อน
นั่งดูพรรคพวก เพื่อนพ้องในวงการ เตรียมตัวเดินทางกัน
ไม่นัก ไม่หนา ก็ค้นเรื่องเก่าที่เคยเขียนไว้ ที่บล๊อกโอเค.เนชั่นนาน-เน
มาแล้ว...
เมื่อราวเดือนสิงหาคม 2555 (ก็เกือบ 3ปีแล้ว) เก็บเอามาปรับปรุง
เพิ่มเติมเขียนใหม่
ตามจริงแล้ว
กาแฟเวียดนามมีชื่อเสียงโด่งดังเพราะผลิตกาแฟจำนวนมากเป็นอันดับต้นๆ
ของโลกตีคู่มากับกาแฟบราซิล
แต่กาแฟดีมีคุณภาพที่เป็นกาแฟอราบิก้าจะเป็นของอินโดนีเชีย
ที่ถือได้ว่าเป็นกาแฟดีอันดับหนึ่งของเอเซีย
โดยเฉพาะเป็นประเทศที่เริ่มผลิตกาแฟขี้ชะมด"kopi luwuk"เป็นประเทศแรก
ที่ออกจำหน่าย
ราคาแพงที่สุดในโลก"เรื่องนี้เบื่อปาก
ไม่อยากคุยเพราะไม่อยู่ในแนวทัศน์ของเรา เราขอข้ามไป
ถึงกาแฟดีตัวอื่นๆของอินโดนีเซีย ที่มีความดีเด่นกันดีกว่า"...
สมาคมผู้ส่งออกกาแฟอินโดนีเซีย(Association of
Indonesian Coffee Exports AICE)
สนับสนุนเงินทุนและความรู้แก่ผู้ที่อยู่ ในอุตสาหกรรมกาแฟ
สมาคมผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
ด้านกาแฟของอินโดนีเซีย (Specialty Coffee Association of
Indonesia SCAI)
ส่งเสริมและปรับปรุงเมล็ดพันธุ์กาแฟทั่วประเทศ
ภูมิประเทศที่เป็นเกาะของอินโดนีเซีย
ให้สามารถผลิตเมล็ดกาแฟได้หลากหลายแบบและรสชาติตามพื้นที่ปลูก
ปัจจุบันผู้ผลิตกาแฟ 90% ของอินโดนีเซีย
เป็นเจ้าของที่ดินขนาดเล็กและเกษตรกรรายย่อย
ผู้บริโภคในประเทศนิยมกาแฟแบบคั่วเป็นส่วนใหญ่ (Roasted and Ground
Coffee) 70%
และเป็นแบบพร้อมชงละลายน้ำ (Instant Coffee) 30%
กาแฟจากแหล่งเพาะปลูกที่มีชื่อเสียงของอินโดนีเซียมีหลายแห่ง
ได้แก่เกาะสุมาตรา เกาะชวา
เกาะบอร์เนียว เกาะซูลาเวซี
เกาะโมลุกกะ และเกาะปาปัว
โดยเฉพาะกาแฟที่ชวาและเกาะสุมาตรา
ที่มีรสชาติเป็นที่ยอมรับ
ของตลาดกาแฟทั่วโลก
โดยกาแฟจากเกาะชวามีวิธีการผลิตเฉพาะ
กล่าวคือ
การบมในโกดังพิเศษเพื่อให้เมล็ดกาแฟเปลี่ยนสี
และ
มีรสชาติที่ดีสําหรับกาแฟที่สุมาตรา
ถึงกับมีผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่า
"กาแฟแมนเฮลิงมีรสดีกว่าบลูเมาเทน และ
กาแฟโคนาเสียอีก"
กาแฟที่มีคุณภาพสูง - Mandheling และ Ankola
สำหรับบ้านเรานั้นผลผลิตยังไม่ได้รสชาติที่ดีและมาตรฐาน
ผู้ประกอบการหลายแห่ง จึงมีความจำเป็นที่ต้องสั่งกาแฟรสชาติดี
จากอินโดนีเซียเข้ามาเบรนในการคั่วกับกาแฟไทย
เพื่อผลิตจำหน่ายให้แก่ลูกค้าร้านกาแฟสด ในบ้านเราและเดือนหน้านี้
สมาคมกาแฟพิเศษไทย ก็จะนำคณะสมาชิก
เปิดทริปพิเศษไปศึกษาดูงานกาแฟของอินโดเนียกัน.
: ภาพบางส่วนจากเว๊บฯ