กาแฟลาวบุกตลาดไทย
    ระยะเวลาที่ผ่านมาเพียงไม่กี่ปี ที่เราเฝ้ามองและสัมผัสกับกาแฟเพื่อนบ้าน ต้องวางใจให้เป็นธรรมในด้านความก้าวหน้าและการพัฒนาเข้าสู่ระดับ โดยไม่เข้าข้างกาแฟไทยเราเองที่ก้าวพัฒนาสู่วงการมาตรฐานตามรูปแบบ กาแฟคั่วบด จากนักวิชาการหลายฝ่ายมาเต็มรูปแบบของ "ตลาดกาแฟสด"สู่ความนิยมของสังคมไทยไม่ยาวนานนัก (สมัยฟองสบู่แตก)
มาไม่กว่า 6-7 ปี
    ในช่วงแรกนั้นเราก็พอรู้จักกาแฟเพื่อนบ้าน จากประเทศลาว ซึ่งมีเพื่อนสนิทที่ทำงานในประเทศลาว ซื้อมาฝากให้ชิมรสสมัยนั้นก็เรียกได้ว่ารสชาติยังไม่เป็นที่พึงพอใจ ก็คงประมาณกาแฟชงถุง แบบกาแฟโบราณของไทยเรา
                         
(ไร่กาแฟ สปป.ลาวที่มีเจ้าหน้าที่และคนงานเวียดนามเข้าไปทำงานร่วมพัฒนา)
      ได้มีผู้กล่าวขานถึงไร่กาแฟที่สมบูรณ์ กว้างขวางในพื้นที่ราบ
Bolovens ที่เหมาะสมกับการปลูกกาแฟ เพราะเป็นพื้นที่ราบสูงกว่าระดับน้ำทะเลพันกว่าเมตร และ มีสภาพอากาศหนาวเย็นดินดีมีแร่ธาตุที่เคยเป็นภูเขาไฟ เหมาะสมแก่กาแฟโดยไม่ต้องการพึ่งพาปุ๋ยเคมี อันเป็นธรรมชาติตัวหลัก ที่เป็นกาแฟออร์แกนิคส์ และ หากจะศึกษาถึงประวัติความเป็นมาของกาแฟลาว สมัยชาวฝรั่งเศสเข้ามาครอบครอง (นานนับเป็นร้อยปี)ได้นำเอากาแฟเข้ามาปลูกด้วยเป็นพันธุ์ดั่งเดิม ที่ไม่ได้บ่งไว้ มาทราบจากการชิมรสของนักวิชาการเมื่อเร็วๆนี้เองว่าส่วนหนึ่งเป็น กาแฟอราบิก้าลูกผสมเดิม (Tipica)ชาวลาวเรียกว่า"กาแฟน้อย"ที่มีรสชาติเป็นอันดับหนึ่งของเอเซียซึ่งปลูกอยู่ไม่มากเพียงราว 15%ของพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกาแฟโรบัสต้าราว 80 %
  ในช่วงระยะเวลา4-5 ปีที่ผ่านมา กลุ่มชาวไร่กาแฟของลาวได้รับการ
ส่งเสริมปรับปรุง สร้างไร่จากที่กระจัดกระจาย รวมเป็นพื้นที่แปลงใหญ่เพื่อให้เหมาะสมกับการรวมรวม การดูแลรักษา และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อให้เข้าสู่ระบบเกษตรอุตสาหกรรม โดยมีเวียดนามที่เป็นมิตรประเทศได้ให้การสนับสนุน ด้วยพื้นที่ที่ใกล้เคียงกันและเชื่อมโยงในด้านผลผลิต เพื่อการส่งออกเป็นสินค้าด้านการเกษตร ที่เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในกลุ่มเอเชี่ยน โดยมีเวียดนามและอินโดนีเซีย ซึ่งปัจจุบันเป็น
ผู้ส่งออกกาแฟเป็นอันดับ 2 และ อันดับ 4 ของโลก แม้กาแฟลาวจะมีส่วนเพียงน้อยแต่ก็ได้วาง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(ฉบับที่6)ของ สปป.ลาวไว้กำหนดที่จะไปสู่เป้าหมายการส่งออกในปี 2553 ให้ได้จำนวนสูง(ราว 20,000ตัน/ปี)เป็นมูลค่าราว 36 ล้านดอลล่าร์ โดยมีประเทศสำคัญที่ส่งออกคือ ฝรั่งเศส เยอรมัน และโปแลนด์  
  
  ในปีช่วงปีหลังๆมานี้ชาวไร่กาแฟได้รวมตัวกันเป็นสหกรณ์ฯ และสมาคมกาแฟลาว มีผู้ประกอบการจากประเทศไทยเข้าไปดำเนินงานเป็นอุตสาหกรรมกาแฟลาว วางแผนปรับปรุงพัฒนากาแฟ และส่งเจ้าหน้าที่เข้ามารับการฝีกอบรม ด้านการดูแล และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อก้าวไปสู่เกษตรอุตสาหกรรมที่มีมาตรฐาน ประกอบกับการปลูกกาแฟของลาวไม่มีการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และ ปลอดสารเคมีอันเป็นกฏของรัฐที่ไม่มีการนำเข้าอยู่แล้ว จึงเป็นที่สนใจของต่างประเทศ

ประธานสมาคมกาแฟลาว

(นายสีสะหนุก สีสมบัด ประธาน)ได้ผลิตกาแฟคั่วบดตัวแรกออกสู่ตลาดในนามของ "Sinounk"พร้อมกับกาแฟปากซอง
Pakxong coffeeรวมทั้งบริษัทผู้ประกอปการไทย ได้เข้าไปตั้งบริษัท
(Dao Heuang)ผลิตกาแฟ คั่วบดในนามของ"Dao"เน้นกาแฟ"Tipica"ที่มีรสชาติที่หอมเข้ม ของกาแฟอราบิก้าเลือดผสมกับโรบัสต้า ทั้งมีความขมเข้มเป็นที่พอใจของตลาดเอเซีย
 
       กาแฟลาวเริ่มเปิดตัวในประเทศไทย เมื่อปี 2549 นี้จากงาน"พืชสวนโลก"และรวมกลุ่มกับกาแฟสมาคมกาแฟลาว นำมาเปิดแนะนำในงาน
ThaiFex ที่กรุงเทพฯเมื่อเร็วนี้ เป็นที่ฮือฮาของคอกาแฟ ต่อมากาแฟสีหนุก เปิดเป็นคิออสค์ (Kiosk) กาแฟภายใต้แบรนด์ Sinouk Cafe Lao ซึ่งในปัจจุบันมีถึง 2-3 แห่งใน เมืองเชียงใหม่
 
   กาแฟลาวเริ่มเข้าสู่ตลาดไทยอย่างเป็นระบบเมื่อต้นปีนี้ หลังจากรัฐบาลไทยได้เริ่มลดภาษีนำเข้าเมล็ดกาแฟคั่วเหลือเพียง 5% แต่ยังคงเก็บในอัตรา 40% สำหรับเมล็ดกาแฟดิบ ผู้ประกอบการในไทยก็จะเริ่มมองเห็นว่า ด้วยความได้เปรียบในด้านภาษีนำเข้ากาแฟสำเร็จที่ต่ำและต้นทุนที่ถูกกว่ากาแฟไทย แม้แต่สารกาแฟก็ยัง

มีราคาต่ำกว่าเกือบครึ่งราคาของกาแฟไทยในแหล่งที่ดี ยังได้ส่งผลกระทบในปีที่ผ่านๆมา ต่อผลผลิตกาแฟชาวไร่ในภาคเหนือด้วย

  
   สมาคมกาแฟลาวดำเนินการขอใบรับรองผลิตภัณฑ์ออร์กานิคส์ เพื่อยืนยันการเป็นกาแฟที่ปลูกโดยวิธีธรรมชาติ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีใดๆ ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าสู่ตลาดโลกได้อย่างกว้างขวาง จำหน่ายได้ราคาสูงขึ้น ทั้งในญี่ปุ่น สหรัฐฯ และ อียู นอกจากนี้ลาวยังได้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรทั่วไปภายใต้โครงการ Everyting But Arm (EBA)ที่สหภาพยุโรป (European Union : EU.)ให้กับประเทศพัฒนาน้อยที่สุด รวมถึง สปป.ลาว โดย อี.ยู.ยกเว้นการเรียกเก็บภาษีนำเข้า
และ ยกเลิกกำหนดโควต้านำเข้าสินค้าทุกประเภทจาก สปป.ลาว
   นอกจากนี้ยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีเอเซี่ยน (Asean Free Trade Area) AFTA.  ซึ่งจะช่วยให้ สปป.ลาวส่งออกกาแฟไปยังประเทศในกลุ่มอาเชี่ยนได้มากขึ้น ทั้งนี้ภายใต้ข้อตกลง AFTA.ส่งผลให้ในปัจจุบันประเทศไทยเรียกเก็บภาษีนำเข้าเมล็ดกาแฟดิบ สปป.ลาวลดลงเหลือเพียงร้อยละ 40 จากอัตราเดิมที่เก็บร้อยละ 90 อันเป็นข้อปัญหาให้เกิดการกระทบ แก่ผลผลิตกาแฟภายในประเทศไทย

(ข้อมูลบางส่วนจาก..ส่วนวิเคราะห์ธุรกิจ ฝ่ายวิชาการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย)
  
   
ในมุมมองของเราและนักวิชาการเห็นว่า
     ๐ กาแฟลาวได้เปรียบในตลาดไทยและการส่งออก โดยสิทธิประโยชน์ทางภาษีระหว่างประเทศ และในเขตการค้าเสรีเอเชี่ยน เป็นผลดีในการส่งเสริมขยายตลาดกาแฟลาว
    ๐ กาแฟลาวได้รับการช่วยเหลือจากมิตรประเทศ(เวียดนาม) ที่กำลังครองตลาดระดับโลกของการส่งออกโดยการช่วยร่วมกัน
ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน และ มีประสบการณ์สูงด้านการส่งเสริม และ วิชาการเกษตรสำหรับไร่กาแฟ
    ๐ กาแฟลาวสามารถเข้าตลาดไทยได้ดีประเด็นแรกเพราะความนิยมเพิ่มขึ้นในรสชาติ Tipica รสชาติเข้ม-ขมเต็มรสกว่ากาแฟลูกผสมคาติมอ ในคอกาแฟที่ชื่นชอบ Espresso  กลิ่นหอมนุ่มลึกจากการ(หมักเนื้อเมล็ด)ด้วยวิธีตากแห้ง บอดีแน่นหนักเต็มคำเพราะมีเลือดโรบัสต้าผสม
    ๐ กาแฟลาวได้รับความนิยมเพราะเป็นกาแฟที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ โดยความเป็นกาแฟออแกนิคส์ ด้วยการไม่ใช้ปุ๋ย-สาร ยาเคมี ตามหลักกฏหมายการนำเข้าสารเคมีของ สปป.ลาวอยู่แล้ว เป็นความต้องการของสังคมกาแฟประเทศต่างๆ
    ๐ มีพื้นที่ราบสูงอันกว้างขวาง และ เป็นดินภูเขาไฟ อันเหมาะสมแด่พืชกาแฟ และยังสามารถขยายการปลูกเพิ่มได้อีกมาก อันเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศได้ในอนาคต ทั้งมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าประเทศเรา
    โดยภาพรวมแล้วผู้ประกอบการไทย อาจจะประเมินภาพลักษณ์ของกาแฟลาวต่ำไป ในฐานะเมืองด้อยพัฒนา แต่อย่าลืมความเป็นมาที่ธรรมชาติช่วย เป็นเอกลักษณ์กาแฟออรแกนิคส์สมบูรณ์ ต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า สามารถที่จะบุกเปิดตลาดในบ้านเราได้ และก็ได้ประเดิมสร้างความนิยมแล้วในพื้นที่ แดนอราบิก้าคาติมอรของเมืองไทยในภาคเหนือ.......
                                                      

                                                        "ลุงรภ" เชียงใหม่กาแฟสด.

กลับหน้าแรก....