กาแฟโบราณ
จาก..
หนังสือ
สรรสาระ กาแฟ
โดย พัชนี สุวรรณวิศลกิจ
ในต่างประเทศแถบยุโรป มีวัฒนธรรมการดื่มกาแฟแพร่หลายมานาน
และถือว่ากาแฟเป็นเศรษฐกิจ
ที่มีความสำคัญในตลาดโลก
โดยเฉพาะในช่วงสงครามโลก เมล็ดกาแฟขาดแคลน และมีราคาแพง พ่อค้ากาแฟจึงพยายาม
นำส่วนของพืชชนิดต่าง ๆ มาผสมลงในกาแฟ หรือนำมาทดแทนเมล็ดกาแฟ
เพื่อลดปริมาณการใช้กาแฟแท้ลง เป็นการประหยัดต้นทุนการผลิต
ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ปรากฏในตลาดการค้ามานาน
กว่าร้อยปีแล้ว
ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม เช่น
กลุ่มผู้ดื่ม
ที่ไม่ชอบความขมของกาแฟ กลุ่มผู้ดื่มที่ไม่ประสงค์จะบริโภคคาเฟอีน
หรือกลุ่มผู้ดื่ม
บางลัทธิที่มีข้อห้ามในการดื่มสิ่งที่อาจมีสารเสพติด เป็นต้นคะ
ส่วนของพืชที่นำมาแปรรูปเป็นกาแฟในต่างประเทศ เช่น
-
ชิโครี (Chicory)
โดยนำส่วนรากของต้นโครีมาคั่วและชงด้วยน้ำร้อนจะให้กลิ่นและรสคล้ายกาแฟ
ใช้กันมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งราวศตวรรษที่ 17
ในยุดล่าอาณานิคม
การนำเข้าเมล็ดกาแฟไปยังยุโรปเป็นไปได้ยากและมีราคาแพง
จึงได้มีการปลูก และเก็บเกี่ยวชิโครี
มาผลิตเป็นกาแฟในระดับอุตสาหกรรม
รากชิโครีมีส่วนกระตุ้นความอยากอาหาร ระบบย่อย และสามารถลดกรดใน
กระเพาะอาหารได้ด้วย
- ข้าวบาร์เลย์ (Barley)
มีการนำมอลต์ ของข้าวบาร์เลย์มาคั่ว
ซึ่งได้รับความนิยมระดับหนึ่ง
เนื่องจากมีรสชาติกลมกล่อม
- ข้าวสาลี (Wheat)
มีการใช้ทดแทนกาแฟในสหรัฐอเมริกา ในช่วง พ.ศ.2455
ผลิตภัณฑ์นี้
ทำจากส่วนผสมของข้าวสาลี รำข้าวสาลี และกากน้ำตาลจากอ้อย เรียกว่า
Postum Cereal
- ข้าวโพด พบว่าใช้เช่นเดียวกับประเทศไทย คือ
มีการนำเอาเมล็ดข้าวโพดมาคั่วผสมกับกาแฟ
เพื่อเป็นการลดต้นทุน แต่มีข้อเสีย คือ
มักมีกลิ่นหืนได้ในระยะเวลาสั้นๆ เนื่องจากมีไขมันในเมล็ด
ค่อนข้างสูง
- ถั่วเหลือง มีการใช้เป็นกาแฟมานาน
ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18
โดยเฉพาะทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี เมื่อคั่วเสร็จใหม่ๆ
แล้วนำมาชงน้ำร้อนจะมีรสชาติคล้ายกาแฟมาก แต่มีข้อเสีย คือ
เกิดการเหม็นหืน
ได้ง่าย ทำให้เก็บไว้นานไม่ได้ ในประเทศไทย
ก็พบว่ามีการวางจำหน่ายกาแฟถั่วเหลือง ด้วยเช่นกัน
- ถั่วลิสง
ถึงแม้จะมีคุณภาพด้อยกว่าถั่วเหลืองในด้านกลิ่น
แต่ให้รสชาติที่คล้ายกาแฟ ส่วนมากจะนำมาทดแทนโกโก้มากกว่า
- Sakka coffee หรือ Sultan coffee
ซึ่งก็มีส่วนของเปลือกผลกาแฟ และกะลากาแฟ
ที่นำมาคั่วแล้วบดเป็นผงละเอียดสำหรับการชงกับน้ำร้อนทำเป็นเครื่องดื่มได้เช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีการนำธัญพืชอีกหลากหลายชนิดที่มีการนำมาใช้ทดแทนกาแฟ
ตามแต่ละภูมิภาคที่แตกต่างกันไป เช่น ถั่วลูกไก่ ถั่วลูพิน
เป็นต้น นอกจากนี้เมล็ดอัลมอนด์ก็ได้เคยถูกนำมาคั่วและบดเป็นผงละเอียด
เพื่อนำมาชงน้ำร้อนเป็นเครื่องดื่ม แต่ต่อมาเมล็ดอัลมอนด์
ถูกนำไปใช้ผลิตเป็น ขนมขบเขี้ยว หรือส่วนผสมผลิตภัณฑ์ช็อกโกแล็ต
ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ส่งผลให้เมล็ดอัลมอนด์มีราคาสูงขึ้น
จึงไม่นำมาผลิตเป็นส่วนผสมกาแฟ
สำหรับประเทศไทย
อุตสาหกรรมการผลิตกาแฟได้เริ่มต้นขึ้นมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่
2
ซึ่งเป็นช่วงที่เมล็ดกาแฟมีราคาแพงมาก จึงนำเมล็ดธัญพืช
และพืชตระกูลถั่ว มาคั่ว-บด ผสมลงในกาแฟด้วย เพื่อลดปริมาณต้นทุน
เมล็ดธัญพืชที่ประเทศไทยนำมาผสมกับกาแฟ เช่น
-
ข้าวโพด ส่วนใหญ่จะใช้ข้าวโพดที่ใช้เลี้ยงสัตว์
ซึ่งมีความแข็งไม่แตกตัวง่ายในขณะคั่ว
ข้าวโพดที่คั่วแล้วจะมีปริมาตรสูงขึ้น มีการพองตัว มีน้ำหนักเบา
-
ข้าวกล้อง มีราคาถูก มีสารอาหารที่มีคุณประโยชน์
หลังคั่วแล้วจะเป็นตัวเพิ่มน้ำหนักให้กาแฟ
-
งา ใช้งาดำซึ่งไม่ได้กะเทาะเปลือกออก
แต่มีราคาสูงเมื่อเทียบกับวัตถุดิบอื่นๆ งาที่ผ่านการ
คั่วสุกแล้ว จะมีกลิ่นหอม มีส่วนช่วยเพิ่มกลิ่นรสของกาแฟให้ดีขึ้น
-
น้ำตาล ใช้น้ำตาลทรายดิบ ผสมกับน้ำตาลทรายแดง
ช่วยเพิ่มกลิ่นและรสของกาแฟให้ดีขึ้น
-
เนย มีองค์ประกอบของไขมันคล้ายกับที่มีในเมล็ดกาแฟ
ทำหน้าที่ช่วยให้กาแฟเกิดการเลื่อมมัน
กลิ่นและรสดีขึ้น ใช้เป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของน้ำตาล
ขณะหลอมตัวไม่ให้สูงจนเกินไป
-
เกลือ
ใช้ป้องกันความเปรี้ยวอันจะเกิดกับกาแฟที่เคี่ยวน้ำตาลแก่
หรืออ่อนเกินไป ก่อนที่จะทำการ
คลุกเคล้า
-
ถั่วเหลือง ให้กลิ่นที่คล้ายกาแฟ แต่มีข้อเสียคือ
เก็บไว้ได้ไม่นาน เพราะเกิดการเหม็นหืนได้ง่าย
-
เม็ดมะขาม ถ้าใช้ในปริมาณที่เยอะเกินไป
จะทำให้กาแฟมีรสชาติฝาด
นอกจากการใช้เมล็ดพืช ข้างต้นแล้ว
อาจพบผลิตภัณฑ์กาแฟที่ใช้วัตถุดิบเป็นผลไม้อยู่บ้าง เช่น กล้วย
(ระยะที่สุกห่าม) ลำไยแห้ง เป็นต้น
ราคากาแฟโบราณ
ในปัจจุบันขายตามท้องตลาดราคากิโลกรัมละ
20-30
บาท(สมัยนั้น)
ขึ้นอยู่กับคุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้ และปริมาณกาแฟแท้ที่ผสมอยู่
ซึ่งโรงงานกาแฟโบราณในประเทศไทยมีอยู่ 100-200
โรงงาน คุณภาพกาแฟโบราณที่ผลิต
ขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการของตลาดคู่แข่งขัน
โดยมีราคาเป็นเครื่องกำหนด
โรงงานที่ผลิตเกือบทั้งหมดมีกรรมวิธีที่คล้ายคลึงกัน
เครื่องมือที่ใช้คั่ว และบด มักเป็นเครื่องมือพื้นบ้าน
อาจมีการปรับปรุงเทคโนโลยีสมัยใหม่อยู่บ้างในบางโรงงาน
แต่จะแตกต่างกันไปคือ วัตถุดิบที่นำมาผลิตแต่ละชนิด
และเทคนิคในการคั่วบดกาแฟ สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้
กาแฟแต่ละยี่ห้อมีความแตกต่างกันไป ทั้งในด้านกลิ่นรส
รวมทั้งราคาที่จำหน่ายด้วย
แหล่งที่มาของข้อมูล
:หนังสือ
สรรสาระ กาแฟ
โดย พัชนี สุวรรณวิศลกิจ